วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

                                                                    การปกรองสมัยสุโขทัย


รูปแบบการปกครอง ใช้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบครอบครัว (ปิตุราชา)
                                    อำนาจสูงสุดอยู่ที่กษัตริย์
       - สุโขทัยในตอนต้น จะปกครองแบบพ่อปกครองลูก (สมัยพ่อขุนรามคำแหง)
       - สุโขทัยตอนปลาย จะปกครองแบบธรรมราชาโดย ใช้ธรรมะที่เรียกว่า
                                           "ทศพิธราชธรรมและจักรวัตร 12" (เริ่มสมัยพระพญาลิไท)

การจัดระเบียบการปกครอง แบ่งเป็น ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค เมืองประเทศราช
        - ส่วนกลาง คือ เมืองราชธานี เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์
        - ส่วนภูมิภาค คือ
                   1.หัวเมืองชั้นใน (เมืองลูกหลวง) เป็นเมืองหน้าด่านล้อมราชธานี 4 ทิศ
                      พระราชโอรสเป็นผู้ปกครอง เช่น เมืองศรีสัชนาลัย สองแคว นครชุม สระหลวง
                   2.หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) อยู่ใกล้ราชธานี ขุนนางปกครอง
        - เมืองประเทศราช คือ เมืองขึ้น ให้แต่ละแคว้นปกครองกันเองแต่ต้องส่งตัวประกัน และ
                    ส่งส่วย 3 ปี 1 ครั้ง


พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ กษัตริย์พระองค์แรกของสุโขทัย

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ยุคที่เจริญที่สุด
พระยาลิไท กษัตริย์พระองค์แรกที่ปกครองแบบธรรมราชา
   


เรียบเรียงโดยครูมินทร์ 
อ้างอิง. เนื้อหา ณัทธนัท เลี่ยวไพโรจน์ หนังสือคัมภีร์พิชิต Admissions สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
                           www. Jumsunisa.blogspot.com
              ภาพจาก www.thaigoodview.com
                              www.nana-ideas.com
                              www.watsriopas.com
                              www.youtube.com
                              www.dek-d.com





                                   
                                                         

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

                                                สรุปเนื้อหา หน้าที่พลเมือง ม.2 และ ม.3
(เนื้อหาคล้ายกันแต่ ม.3 จะถามเชิงลึกกว่า และข้อเขียนจะต้องวิเคราะห์หลักการ ปชต.ด้วย ซึ่ง ม.2 ใช้เพียงหลักการจำ)
ระบอบการปกครอง
1. ประชาธิปไตย อำนาจอยู่กับประชาชน
2. เผด็จการ
    - เผด็จการทหาร อำนาจอยู่กับกลุ่มทหาร
    - เผด็จการฟาสซิสม์ นาซี อำนาจอยู่กับผู้นำคนเดียว
    - เผด็จการคอมิวนิสต์ อำนาจอยู่กับพรรคการเมืองเดียว

ความหมายของประชาธิปไตย คือ การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่่อประชาชน
ประชาธิปไตยเกิดขึ้นครั้งแรกที่อาณาจักรกรีก (เป็นประชาธิปไตยทางตรง)
ประชาธิปไตย แบ่งเป็น 1. ประชาธิปไตยทางตรง คือ ประชาชนทุกคนแสดงความคิดเห็นในรัฐสภา
                                                                                   แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว เพราะจำนวนคนเยอะเิกนไป
                                     2. ประชาธิปไตยทางอ้อม คือ ส่งตัวแทนไปทำหน้าที่โดยการเลือกตั้ง

ประชาธิปไตยในประเทศไทย
 เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 24 มิ.ย. 2475 (ร.7) เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร
 เหตุผลในการปฏิวัติคือ 1. เศรษฐกิจตกต่ำ
                                      2. ไม่มีความเป็นธรรมระหว่างชนชั้น (แบ่งชนนั้น)
                                      3. ประชาชนได้รับแนวคิดประชาธิปไตยจาก อังกฤษ ฝรั่งเศษ

                                               เหตุการณ์สำคัญในเส้นทางประชาธิปไตย
                                                              14 ตุลา 2516 (วันมหาวิปโยค)
                         สาเหตุ ประชาชนเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และขับไล่เผด็จการ
                         ผล  ประชาชนชนะ นายกรัฐมนตรีลาออก ทำให้เข้าสู่ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน


                                                                    6 ตุลา 2519
          สาเหตุ ประชาชนไม่พอใจที่ จอมพลถนอมกลับเข้ามาในประเทศไทย จึงเดินขบวนขับไล่
                      จนเกิดความวุ่นวาย รัฐบาลควบคุสถานการณ์ไม่ได้ ทหารจึงทำรัฐประหาร
          ผล ประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองของทหารอีกครั้ง (หยุดเส้นทางประชาธิปไตย)


พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535
                      สาเหตุ ประชาชนต้องการนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง
                      ผล  พลเอกสุจินดา ยอมลาออก และทำให้เกิด รธน.ปี 40

                                                           หลักการประชาธิปไตย 
1. การปกครองของประชาชน คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน(ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ)
2. การปกครองโดยประชาชน คือ ประชาชนใช้อำนาจโดยการเลือกตั้ง (อายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป)
3. การปกครองเพื่อประชาชน คือ ผู้แทนต้องทำเพื่อประชาชน
4. รัฐบาลต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชน คือ ประชาชนมีสิทธิแสดงความคิดเห็น 
                                                                                                 ทางการเมือง มีสิทธิเลือกศาสนา เป็นต้น
5. เสมอภาคเท่าเทียม ประชาชนทุกคนต้องได้รับการบริการจากรัฐอย่างเท่าเทียม
6. หลักมติเสียงข้างมาก ใช้ตัดสินในกรณีต่าง เช่นการเลือกตั้ง (ถือเป็นหัวใจหลัก)
7. นิติธรรมใช้กฎหมายบริหารชาติ ใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด

หลักการติดตามข่าวสารบ้านเมือง
1. ติดตามข่าวสารทุกด้าน เช่น ดูทั้งข่าวการเมือง เศรษฐกิจ สังคม บันเทิง กีฬา เป็นต้น
2. รับข้อมูลข่าวสารหลายแหล่ง เช่น จากวิทยุ TV คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
3. มีวิจารณญาณ คือ ต้องคิดดีๆก่อนเชื่อ

ข่าวสำคัญ
      กลุ่ม ISIS(มีอิทธิพลที่สุด นับถือศาสนาอิสลาม)  อุทยานราชภักดิ์ สาวจีนถูกงูกัด คดีจำนำข้าว